วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวัดด้านพุฒิพิสัย(Cognitive Domain)

การวัดด้านพุฒิพิสัย(Cognitive Domain)

พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)          
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา

การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ

การประเมินค่า
(Evaluation)
การสังเคราะห์
(Synthesis)
การวิเคราะห์
(Analysis)
การนำไปใช้
(Application)
ความเข้าใจ
(Comprechenion)
ความรู้ที่เกิดจากความจำ
(Knowledge)



พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่      
ด้านพุทธิพิสัย (พฤติกรรมด้านสมอง)(Cognitive Domain)
ความรู้
(Knowledge)
สามารในการจำความรู้ต่างๆที่ได้เรียนรู้มา
ความเข้าใจ
(Comprechenion)
สามารถในการแปล ขยายความในสิ่งที่ได้เรียนรู้
การนำไปใช้
(Application)
สามารถในการใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อให้เกิดสิ่งใหม่
การวิเคราะห์
(Analysis)
สามารถในการแยกความรู้ออกเป็นส่วนทำความเข้าใจในแต่ละส่วนว่าสัมพันธ์ หรือแตกต่างกันอย่างไร
การสังเคราะห์
(Synthesis)
สามารถในการรวมความรู้ต่างๆหรือประสบการณ์ต่างๆ ให้เกิดเป็นสิ่งแปลกใหม่
การประเมินค่า
(Evaluation)
สามารถในการตัดสินคุณค่อย่างมีเหตุมีผล

     พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
1. ความรู้ความจำ  ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่างๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้  สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้  เมื่อต้องการ

2. ความเข้าใจเป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่นๆ 

3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์
ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้

4. การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่างๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน

5. การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่

6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้

ตัวอย่างข้อสอบการวัดด้านพุทธิพิสัย

1. ด้านความรู้ความจำ
   ข้อใดอธิบายความหมายของ ซอฟต์แวร์ได้ถูกต้อง
ก. โปรแกรมชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ข. อุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง
ค. โปรแกรมแก้ไขทุกอย่างของมนุษย์
ง. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนสมองกล
ตอบ ก. โปรแกรมชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์

2. ด้านความเข้าใจ
เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ถ้าขาดอุปกรณ์ใด
ก. CPU
ข. Speaker
ค. Monitor
ง. Mouse
ตอบ ก. CPU

3. ด้านการนำไปใช้
(110101)2 มีค่าเท่ากับจำนวนในข้อใด
ก. 50
ข. 51
ค. 52
ง. 53
ตอบ ง. 53


4. ด้านการวิเคราะห์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดที่มีความสำคัญเรื่องการแสดงผลภาพ
ก. Ram
ข. CPU และ HDD
ค. HDD และ Ram
ง. Graphic Card
ตอบ ง. Graphic Card




5. ด้านการสังเคราะห์
ข้อใดต่อไปนี้สามารถใช้ออกแบบโลโก้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
ก. Paint
ข. Photoshop
ค. Illustrator
ง. Photoshop และIllustrator
ตอบ ง. Photoshop และIllustrator

6.ด้านการประเมินค่า
ข้อใดใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม
ก. ฟังเล่น
ข. เล่นเกมส์
ค.  ดาวน์โหลด
ง. เปิดเครื่องเป็นเวลานานๆและไม่ปิดเครื่องหรือพักเครื่องเลย
ตอบ ง. เปิดเครื่องเป็นเวลานานๆและไม่ปิดเครื่องหรือพักเครื่อง


วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญา (Cognitive Theories)

สรุป เรื่องย่อ

1. Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

เรื่องราวของ ริลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เติบโตขึ้นมาในชีวิตแบบตะวันตกตอนกลาง และจำต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่มายังเมืองซาน ฟรานซิสโก หลังจากพ่อของต้องมาเริ่มงานที่ใหม่ ณ เมืองที่ริลีย์ไม่คุ้นเคย

Inside_Out-(25)

ชีวิตของริลีย์ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เธอต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม และต้องเผชิญกับอารมณ์มากมายที่เข้ามาหลังจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งนี้ของเธอ จนนำมาสู่การแสดงออกทางอารมณ์ต่างๆ ทั้ง 5 ได้แก่ ความสุข (Joy), ความกลัว(Fear), ความโกรธ (Anger ), ความน่ารังเกียจ (Disgust) และความเศร้า (Sadness) 

Inside_Out-(14)

เมื่ออารมณ์ทั้งหมด ล้วนอาศัยอยู่ในศูนย์บัญชาการใหญ­่ ภายใต้การควมคุมของจิตใจไรลีย์ คำแนะนำของพวกเขาจะช่วยเหลือเธอให้ผ่านชีวิต­ในแต่ละวันได้ไปได้อย่างไร? เมื่อบทสรุปของความขัดแย้งทางอารมณ์เป็นเหมือนเข็มทิศชี้นำแนวทางให้ริลีย์ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ได้…

Inside_Out-(15)


2. สิ่งที่ได้จากการรับชม Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง
1. ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต
ขึ้นชื่อว่าชีวิต มันก็ย่อมเต็มไปด้วยความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง การรับมือกับความเปลี่ยนแปลง คือประเด็นที่เคยถูกพูดถึงมาแล้วใน Up หนังเรื่องก่อนหน้านี้ของ พีท ดอกเตอร์ ซึ่งเล่าเรื่องของคุณปู่ที่สูญเสียภรรยาสุดที่รักไป ก่อนที่จะถูกนำมาต่อยอดไปอีกขั้นใน Inside Out นี้ การย้ายบ้านของไรลีย์อาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่เหมือนกับความสูญเสียของคุณปู่ แต่มันก็เป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ สำหรับเด็กผู้หญิงอายุ 11 ขวบคนหนึ่ง แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่มันก็เป็นโอกาสที่ช่วยให้ไรลีย์ได้เติบโต และทำความเข้าใจในอารมณ์ด้านต่างๆ ของตัวเองมากขึ้น หลายครั้ง ความสุขของคนเราก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากชีวิตที่สมบูรณ์แบบ แต่เกิดจากความสามารถของเราในการ ‘ปรับใจ’ ให้เข้ากับสถานการณ์ภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป ได้อย่างกลมกลืน 

2. ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
Joy (ความร่าเริง) คือ อารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของไรลีย์ในวัยเด็ก แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้น ในวันที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้าน ซึ่งทำให้อารมณ์อื่นๆ เริ่มมีบทบาทในชีวิตของไรลีย์มากขึ้น 

3. ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ในช่วงแรกของหนัง ไม่มีใครในทีมรู้เลยว่า หน้าที่จริงๆ ของ Sadness (ความเศร้า) คืออะไร 
แต่แล้วในตอนที่ Joy และ Sadness หลงทางอยู่ในความทรงจำระยะยาว Sadness ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการนำทางของเธอ ซึ่งเกิดจากการใช้เวลามากมายไปกับการอ่าน คู่มือสมอง ในตอนที่เธออยู่ที่ศูนย์สั่งการ 

4. ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
ความทรงจำหลายๆ อย่างของคนเรามักจะอยู่ในรูปของความสุขที่ปนมากับความเศร้า หรือที่เรียกกันว่า mixed feeling ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ยาก 

5. การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี
แม้ว่า Joy จะมีความตั้งใจดี แต่เธอก็เป็นผู้นำประเภท control freak ที่พยายามจะควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามความคิดของตัวเองมากเกินไป 

6. ความโกรธคือพลัง แต่...ต้องระวังมันเอาไว้ให้ดี  คนเราไม่จำเป็นต้องอดทนต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อใช้อย่างเหมาะสม Anger (ความโกรธ) ก็คือ ‘พลังงานชั้นดี’ ที่ช่วยปลุกเราให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม และบรรลุเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตได้

7. "ความเกลียด" และ "ความกลัว" ปกป้องเราได้
Disgust (ความเกลียด) และ Fear (ความกลัว) ทำงานคล้ายๆ กับ ‘ระบบเซ็นเซอร์’ โดย Disgust นั้นจะช่วยปัองกันไรลีย์จากสิ่งที่ทำให้เธอไม่สบายกายและไม่สบายใจ ในขณะที่ Fear ก็ช่วยปกป้องเธอจากอันตรายต่างๆ 

3. Inside Out มหัศจรรย์อารมณ์อลเวงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1. ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) จากหนังเมื่อไรลีย์มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไรลีย์ก็สามารถมีความคิดที่ซับซ้อนและมีเหตุผลมากยิ่งขึ้นกว่าตอนเด็กๆ ตามทฤษฎีของเพียเจต์ก็มีการแบ่งพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กออกเป็นช่วงอายุ และแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กโตขึ้นเรื่อยๆก็จะมีพัฒนาการทางความคิดที่ดีขึ้น

2. ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) จากหนังตอนที่มีตัวการ์ตูนที่เป็นเสมือนคนดูแลความสะอาดในเรื่องของความทรงจำถ้าความทรงจำไหนไม่เป็นประโยชน์ก็จะถูกละทิ้งลงถังขยะไป 

3.ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) ว่าด้วยเรื่องความทรงจำตอนแรกก็จะเก็บเป็นความทรงจำระยะสั้น หลังจากนั้นถ้ามันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเราเราก็จะจำและเป็นความทรงจำระยะยาว เหมือนในหนังInside Out ที่มีการเก็บความทรงจำของไรลีย์แทนลูกแก้วที่ใช้เก็บความทรงจำ

4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง เป็นการรู้ของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่เรียนรู้มากน้อยเพียงใด ตลอดจนประสบการณ์ ระดับความสามารถ เหมือนที่ไรลีย์มีความสามารถทางด้านกีลาฮ๊อกกี้และมีประสบการณ์ในการเล่นเพราะเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ

...............................................................
............................................................................................................................

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุป บทที่ 3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)


กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism หรือ S-R Associationism)
          เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response)  เป็นพฤติกรรมที่แสดงออก สามารถสังเกตจากภายนอกได้ ในแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีฐานความคิดที่สำคัญ คือ 
1.) พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้ และสามารถสังเกตได้ 
2.) พฤติกรมทุกชนิดเป็นผลรวมของการเรียนเป็นอิสระหลายอย่าง 
3.) การเสริมแรง (Reinforcement) ช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
          แนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
          นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับรางวัลโนเบล จากงานวิจัยเรื่อง สรีรวิทยาการย่อยอาหารเมื่อปี ค.. 1904 ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข พาฟลอฟสังเกตเห็นสุนัขจีมีน้ำลายไหลออกมาเมื่อผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟสนใจพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนได้รับประทานอาหารมาก จึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งพาฟลอฟได้ทำการทดลองต่อไปนี้


การทดลองของ พาฟลอฟ (Pavlov)

       พาฟลอฟได้สรุปว่า ที่สุนัขน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงสั่นกระดิ่ง แสดงว่าสนุขเกิดการเรียนรู้ เพราะสามารถเชื่อโยงเสียงสั่นกระดิ่ง กับการให้อาหาร

                แนวคิดของวัตสัน (Watson)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้ริเริ่ม คำศัพท์ Behaviorism  เพราะมีความคิดเห็นว่าจิตวิทยาเป็นการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงนั้น ควรจะศึกษาพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้อย่างเด่นชัดเท่านั้น และควรเป็นการศึกษาที่เป็นปรนัย มากกว่า เป็นอัตวิสัย ที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของคน
          วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคกับมนุษย์ เรื่อง ความกลัววัตสันได้ทำการทดลองกับทารกอายุประมาณ 8-9 เดือน ชื่อ อัลเบิร์ต (Albert)  โดยได้ทำการทดลองดังนี้


            ให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข (UCR)  คือ “ความกลัว” วัตสันได้ทำการทดลองเช่นนี้ถึงเจ็ดครั้ง ในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าหลังจากนั้นอัลเบิร์ตเห็นแต่เพียงหนู ก็แสดงความกลัวทันที


ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
                แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
                ธอร์นไดค์ เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา และเป็นผู้คิดทฤษฎีที่เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า กับ การตอบสนอง ที่เรียกว่า S – R โมเดล อีกทั้งให้ความสำคัญกับการเสริมแรง (Reinforcement) ที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยง และการตอบสนองเพิ่มขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ ซึ่งธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองดังต่อไปนี้

การทดลองของธอร์นไดค์ (Thorndike)

           และจากการสังเกตครั้งต่อๆ มาแมวใช้เวลาน้อยลงในการหาทางออกมากินอาหาร ซึ่งธอร์นไดค์เรียกการเรียนรู้ของแมว ว่าเป็นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) ไม่ใช่การใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา และเชื่อว่าการลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนกว่าค้นพบรูปแบบการตอบสนองที่ทำให้เกิดความพึงพอใจที่สุด ธอร์นไดค์ได้สรุปเป็นกฎแห่งการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
1.      กฎแห่งเหตุผล (Low of Effect) สิ่งเร้าไดที่มีการกระตุ้นให้มีการตอบสนองแล้ว ทำให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจจากการกระทำนั้นแล้ว จะเป็นผลที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ
2.      กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนมีความพร้อมทั้งร่ายงกาย และจิตใจ
3.      กฎแห่งการฝึกหัด (Low of Exercise) การฝึกหัดหรือการกระทำบ่อยๆ จะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ทำซ้ำๆบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นอาจไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมไปได้
4.      กฎแห่งการใช้ (Low  of Use and Disuse) การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ถ้าได้มีการนำไปใช้บ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะมีความคงทนถาวร หากไม่มีการนำมาใช้บ่อยๆ ก็อาจเกิดการลืมได้


แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
เบอร์รัส สกินเนอร์ ชาวอเมริกัน นักจิตวิทยาที่เป็นผู้คิดทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “Operant Conditioning” หรือ “Instrumental Conditioning” ทฤษฎีของสกินเนอร์ยังสอดคล้องกับธอร์นไดค์เกี่ยวกับการเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ แต่จะแตกต่างกันที่ว่า สกินเนอร์จะคิดว่าการเชื่อมโยงที่เกิดขึ้น ระหว่างรางวัลกับการตอบสนองไม่ใช่สิ่งเร้ากับการตอบสนองตามแนวความคิดของธอร์นไดค์ สกินเนอร์ได้ทำการทดลองดังนี้


การทดลองโดยปล่อยหนูที่หิวอาหาร เข้าไปใน Skinner Box ภายในกล่องมีคาน ซึ่งเมื่อหนูกดแล้วจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีเสียงดังแกรก

การทดลองของสกินเนอร์ (Skinner)
จากการทดลองปรากฏว่า เมื่อหนูวิ่งไป มา แล้วบังเอิญไปกดถูกคานเข้า จะมีเสียงดังแกรกและหลังจากนั้นจะมาอาหารหล่นลงมา หนูจึงรับหยิบมากิน จากนั้นหนูก็จะวิ่งไปมา ในที่สุดหนูก็จะเฝ้าเวียนมากดคานและวิ่งไปคอยรับอาหาร

การเสริมแรง (Reinforcement)
สกินเนอร์กล่าวว่า พฤติกรรมส่วนมากของมนุษย์เป็นพฤติกรรมประเภท  Behavior ซึ่งสิ่งที่มีชีวิต Organism ทั้งคนและสัตว์เป็นผู้เริ่มที่จะกระทำ Operate ต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง ดังนั้นการเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า Instrumental Conditioning และการเรียนรู้แบบ Operant Conditioning นั้น ผู้เรียนต้องลงมือกระทำเองเปรียบดังเช่นหนูต้องกดคานจึงจะได้รับอาหาร มิใช่เป็นการแสดงพฤติกรรมเนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น เหมือนกับการเรียนรู้แบบ Classical Conditioning  สกินเนอร์ได้แบ่งการเสริมแรงเป็น 2 ประเภท คือ