วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุป บทที่ 3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)


กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism หรือ S-R Associationism)
          เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response)  เป็นพฤติกรรมที่แสดงออก สามารถสังเกตจากภายนอกได้ ในแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีฐานความคิดที่สำคัญ คือ 
1.) พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้ และสามารถสังเกตได้ 
2.) พฤติกรมทุกชนิดเป็นผลรวมของการเรียนเป็นอิสระหลายอย่าง 
3.) การเสริมแรง (Reinforcement) ช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
          แนวคิดของพาฟลอฟ (Pavlov)
          นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับรางวัลโนเบล จากงานวิจัยเรื่อง สรีรวิทยาการย่อยอาหารเมื่อปี ค.. 1904 ในการวิจัยเกี่ยวกับการย่อยอาหารของสุนัข พาฟลอฟสังเกตเห็นสุนัขจีมีน้ำลายไหลออกมาเมื่อผู้ทดลองนำอาหารมาให้ พาฟลอฟสนใจพฤติกรรมน้ำลายไหลของสุนัขก่อนได้รับประทานอาหารมาก จึงได้คิดทำการศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งพาฟลอฟได้ทำการทดลองต่อไปนี้


การทดลองของ พาฟลอฟ (Pavlov)

       พาฟลอฟได้สรุปว่า ที่สุนัขน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงสั่นกระดิ่ง แสดงว่าสนุขเกิดการเรียนรู้ เพราะสามารถเชื่อโยงเสียงสั่นกระดิ่ง กับการให้อาหาร

                แนวคิดของวัตสัน (Watson)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้ริเริ่ม คำศัพท์ Behaviorism  เพราะมีความคิดเห็นว่าจิตวิทยาเป็นการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงนั้น ควรจะศึกษาพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้อย่างเด่นชัดเท่านั้น และควรเป็นการศึกษาที่เป็นปรนัย มากกว่า เป็นอัตวิสัย ที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของคน
          วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคกับมนุษย์ เรื่อง ความกลัววัตสันได้ทำการทดลองกับทารกอายุประมาณ 8-9 เดือน ชื่อ อัลเบิร์ต (Albert)  โดยได้ทำการทดลองดังนี้


            ให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไข (UCR)  คือ “ความกลัว” วัตสันได้ทำการทดลองเช่นนี้ถึงเจ็ดครั้ง ในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าหลังจากนั้นอัลเบิร์ตเห็นแต่เพียงหนู ก็แสดงความกลัวทันที


ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
                แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
                ธอร์นไดค์ เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา และเป็นผู้คิดทฤษฎีที่เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า กับ การตอบสนอง ที่เรียกว่า S – R โมเดล อีกทั้งให้ความสำคัญกับการเสริมแรง (Reinforcement) ที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยง และการตอบสนองเพิ่มขึ้น โดยเน้นการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ ซึ่งธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองดังต่อไปนี้

การทดลองของธอร์นไดค์ (Thorndike)

           และจากการสังเกตครั้งต่อๆ มาแมวใช้เวลาน้อยลงในการหาทางออกมากินอาหาร ซึ่งธอร์นไดค์เรียกการเรียนรู้ของแมว ว่าเป็นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) ไม่ใช่การใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา และเชื่อว่าการลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนกว่าค้นพบรูปแบบการตอบสนองที่ทำให้เกิดความพึงพอใจที่สุด ธอร์นไดค์ได้สรุปเป็นกฎแห่งการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
1.      กฎแห่งเหตุผล (Low of Effect) สิ่งเร้าไดที่มีการกระตุ้นให้มีการตอบสนองแล้ว ทำให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจจากการกระทำนั้นแล้ว จะเป็นผลที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ
2.      กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนมีความพร้อมทั้งร่ายงกาย และจิตใจ
3.      กฎแห่งการฝึกหัด (Low of Exercise) การฝึกหัดหรือการกระทำบ่อยๆ จะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ทำซ้ำๆบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นอาจไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมไปได้
4.      กฎแห่งการใช้ (Low  of Use and Disuse) การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ถ้าได้มีการนำไปใช้บ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะมีความคงทนถาวร หากไม่มีการนำมาใช้บ่อยๆ ก็อาจเกิดการลืมได้


แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
เบอร์รัส สกินเนอร์ ชาวอเมริกัน นักจิตวิทยาที่เป็นผู้คิดทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “Operant Conditioning” หรือ “Instrumental Conditioning” ทฤษฎีของสกินเนอร์ยังสอดคล้องกับธอร์นไดค์เกี่ยวกับการเสริมแรงเป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ แต่จะแตกต่างกันที่ว่า สกินเนอร์จะคิดว่าการเชื่อมโยงที่เกิดขึ้น ระหว่างรางวัลกับการตอบสนองไม่ใช่สิ่งเร้ากับการตอบสนองตามแนวความคิดของธอร์นไดค์ สกินเนอร์ได้ทำการทดลองดังนี้


การทดลองโดยปล่อยหนูที่หิวอาหาร เข้าไปใน Skinner Box ภายในกล่องมีคาน ซึ่งเมื่อหนูกดแล้วจะมีอาหารให้กินพร้อมกับเงื่อนไขที่มีเสียงดังแกรก

การทดลองของสกินเนอร์ (Skinner)
จากการทดลองปรากฏว่า เมื่อหนูวิ่งไป มา แล้วบังเอิญไปกดถูกคานเข้า จะมีเสียงดังแกรกและหลังจากนั้นจะมาอาหารหล่นลงมา หนูจึงรับหยิบมากิน จากนั้นหนูก็จะวิ่งไปมา ในที่สุดหนูก็จะเฝ้าเวียนมากดคานและวิ่งไปคอยรับอาหาร

การเสริมแรง (Reinforcement)
สกินเนอร์กล่าวว่า พฤติกรรมส่วนมากของมนุษย์เป็นพฤติกรรมประเภท  Behavior ซึ่งสิ่งที่มีชีวิต Organism ทั้งคนและสัตว์เป็นผู้เริ่มที่จะกระทำ Operate ต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง ดังนั้นการเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า Instrumental Conditioning และการเรียนรู้แบบ Operant Conditioning นั้น ผู้เรียนต้องลงมือกระทำเองเปรียบดังเช่นหนูต้องกดคานจึงจะได้รับอาหาร มิใช่เป็นการแสดงพฤติกรรมเนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น เหมือนกับการเรียนรู้แบบ Classical Conditioning  สกินเนอร์ได้แบ่งการเสริมแรงเป็น 2 ประเภท คือ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น