วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวัดด้านพุฒิพิสัย(Cognitive Domain)

การวัดด้านพุฒิพิสัย(Cognitive Domain)

พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)          
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา

การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ

การประเมินค่า
(Evaluation)
การสังเคราะห์
(Synthesis)
การวิเคราะห์
(Analysis)
การนำไปใช้
(Application)
ความเข้าใจ
(Comprechenion)
ความรู้ที่เกิดจากความจำ
(Knowledge)



พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่      
ด้านพุทธิพิสัย (พฤติกรรมด้านสมอง)(Cognitive Domain)
ความรู้
(Knowledge)
สามารในการจำความรู้ต่างๆที่ได้เรียนรู้มา
ความเข้าใจ
(Comprechenion)
สามารถในการแปล ขยายความในสิ่งที่ได้เรียนรู้
การนำไปใช้
(Application)
สามารถในการใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อให้เกิดสิ่งใหม่
การวิเคราะห์
(Analysis)
สามารถในการแยกความรู้ออกเป็นส่วนทำความเข้าใจในแต่ละส่วนว่าสัมพันธ์ หรือแตกต่างกันอย่างไร
การสังเคราะห์
(Synthesis)
สามารถในการรวมความรู้ต่างๆหรือประสบการณ์ต่างๆ ให้เกิดเป็นสิ่งแปลกใหม่
การประเมินค่า
(Evaluation)
สามารถในการตัดสินคุณค่อย่างมีเหตุมีผล

     พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
1. ความรู้ความจำ  ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่างๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้  สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้  เมื่อต้องการ

2. ความเข้าใจเป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่นๆ 

3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์
ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้

4. การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่างๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน

5. การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่

6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้

ตัวอย่างข้อสอบการวัดด้านพุทธิพิสัย

1. ด้านความรู้ความจำ
   ข้อใดอธิบายความหมายของ ซอฟต์แวร์ได้ถูกต้อง
ก. โปรแกรมชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ข. อุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง
ค. โปรแกรมแก้ไขทุกอย่างของมนุษย์
ง. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนสมองกล
ตอบ ก. โปรแกรมชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์

2. ด้านความเข้าใจ
เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ถ้าขาดอุปกรณ์ใด
ก. CPU
ข. Speaker
ค. Monitor
ง. Mouse
ตอบ ก. CPU

3. ด้านการนำไปใช้
(110101)2 มีค่าเท่ากับจำนวนในข้อใด
ก. 50
ข. 51
ค. 52
ง. 53
ตอบ ง. 53


4. ด้านการวิเคราะห์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดที่มีความสำคัญเรื่องการแสดงผลภาพ
ก. Ram
ข. CPU และ HDD
ค. HDD และ Ram
ง. Graphic Card
ตอบ ง. Graphic Card




5. ด้านการสังเคราะห์
ข้อใดต่อไปนี้สามารถใช้ออกแบบโลโก้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
ก. Paint
ข. Photoshop
ค. Illustrator
ง. Photoshop และIllustrator
ตอบ ง. Photoshop และIllustrator

6.ด้านการประเมินค่า
ข้อใดใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม
ก. ฟังเล่น
ข. เล่นเกมส์
ค.  ดาวน์โหลด
ง. เปิดเครื่องเป็นเวลานานๆและไม่ปิดเครื่องหรือพักเครื่องเลย
ตอบ ง. เปิดเครื่องเป็นเวลานานๆและไม่ปิดเครื่องหรือพักเครื่อง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น